วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2562

สื่อการสอนทางพลศึกษา

        การอบอุ่นร่างกายและการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (WARM-UP AND COOL-DOWN)
           การอบอุ่นร่างกายและการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การอบอุ่นร่างกายหรือการอุ่นเครื่อง เป็นการเตรียมร่างกายโดยเฉพาะปอดและหัวใจ ให้พร้อมก่อนการออกกำลังกาย การอบอุ่นร่างกายที่ดีก็คือ การทำกิจกรรมที่สามารถทำให้อุณหภูมิร่างกาย อุณหภูมิกล้ามเนื้อ และปริมาณเลือดที่ไหลเวียนสู่กล้ามเนื้อที่จะใช้งานเพิ่มสูงขึ้นจากสภาวะพัก นอกจากนี้การอบอุ่นร่างกายยังช่วยกระตุ้นการเชื่อมต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหว ทั้งยังช่วยให้ร่างกายมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นด้วย

เราจะอบอุ่นร่างกายอย่างไรก่อนการออกกำลังกาย? 

     การอบอุ่นร่างกายก่อนการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายเบาๆ จะใช้เวลาประมาณ 10 นาที แนะนำให้ใช้ท่าแอโรบิคง่ายๆ หรือการยืดเหยียดกล้ามเนื้อสำหรับการอบอุ่นร่างกาย เช่น
  • การเดินเร็ว
  • เดินขึ้น-ลงบันได
  • ก้าวไปด้านข้างซ้าย-ขวาเร็วๆ
  • วิ่งจ๊อกกิ้งอยู่กับที่
  • หมุนแขน
  • ทำท่าลันจ์
  • ทำท่าสควอช
อย่างไรก็ตาม ผลจากการอบอุ่นร่างกายอาจไม่ได้เป็นไปอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะมีหลักฐานจากการศึกษาวิจัยน้อยมากที่ยืนยันว่าการยืดกล้ามเนื้อก่อนการออกกำลังการจะช่วยลดอาการบาดเจ็บหรืออาการปวดเมื่อยจากการออกกำลังการลงได้ อย่างไรก็ตามการยืดแบบไดนามิกอย่างการอบอุ่นร่างกายด้วยการเต้นแอโรบิคยังคงเป็นที่นิยมและทำกันอย่างแพร่หลาย

เราจะผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างไรหลังจากออกกำลังกาย?

       การผ่อนคลายกล้ามเนื้อเป็นการปรับสภาพร่างกายจากการออกกำลังกายมาเป็นสภาพปกติ ถ้าเราหยุดทันที หัวใจที่เคยเต้น 130 – 140 ครั้งต่อนาที จะกลับมาสู่สภาพปกติ คือเต้น 70 ครั้งต่อนาทีในเวลาสั้นๆ ก็อาจเกิดอันตรายได้เพราะปอดและหัวใจปรับตัวไม่ทัน เนื่องจากปริมาณเลือดของร่างกายส่วนใหญ่จะไหลเวียนไปยังกล้ามเนื้อขณะออกกำลังกาย หากหยุดออกกำลังกายทันทีทันใดจะทำให้เลือดที่ไหลเวียนกลับสู่หัวใจน้อยลง โดยเลือดจะคั่งค้างอยู่ที่หลอดเลือดภายในกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขา (Pooling Effect) ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่บีบออกจากหัวใจเพื่อส่งไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง โดยเฉพาะสมอง จึงทำให้เกิดอาการหน้ามืดเป็นลมได้ เราจึงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5-10 นาที ในการปรับตัว คือค่อยๆ ลดชีพจรลงจนเป็นปกติ การยืดกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกายก็เพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังจากการออกกำลังกายและช่วยลดอาการตึงหรือเกร็งของกล้ามเนื้อและยังเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกายด้วย
ที่มา      https://www.stou.ac.th/study/sumrit/1-60(500)/page6-1-60(500).html

สื่อประสม

 สื่อประสม (Multimedia)

        ความหมาย
        สื่อประสมหรือสื่อหลายแบบ (Multimedia) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถผสมผสานระหว่างข้อความ ข้อมูล ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive) มาผสมผสานเข้าด้วยกัน
        สื่อประสมหรือมัลติมีเดีย หมายถึงการนำเอาสื่อหลาย ๆ อย่าง เช่น รูปภาพ เทป แผ่นโปร่งใส มาใช้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน ต่อมาเมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้มากขึ้น และสามารถใช้งาน ได้ทั้งภาพนิ่ง เสียง ข้อความและภาพเคลื่อนไหว ทำให้ความหมายของสื่อประสมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่วนประกอบหลัก ที่มีใช้ทั่วไปของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจะมี CD-ROM sound card และลำโพง เพิ่มเข้ามาในคอมพิวเตอร์ หรืออาจมีส่วนประกอบที่เกี่ยวกับการใช้งานวิดีโอด้วย นอกจากนี้ยังมีความหมายรวมถึงการใช้การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องวิดีโอเทปเสียง ซีดีรอม กล้องดิจิตอล โทรทัศน์ฯลฯ ให้ทำงานร่วมกัน การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์หลาย ๆ อย่างดังกล่าวจะต้องอาศัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) และอุปกรณ์ (Hardware) ต่าง ๆ ประกอบกัน บางครั้งจึงเรียกว่าสถานีปฏิบัติการมัลติมีเดีย (Multimedia workstation) 
        ไฮเปอร์มีเดีย หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย นำเสนอสารสนเทศต่าง ๆ ในรูปของ ตัวอักษร ภาพ เสียง และการเคลื่อนไหว โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยง เลือกหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการ ตลอดจนขั้นตอนการเรียนรู้ได้ตามที่กำหนด ไว้ในโปรแกรม




       


 ลักษณะของสื่อประสม
        1. การนำสื่อหลายชนิดมาผสมผสานเข้าด้วยกัน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นตัวจัดการ และควบคุมให้สื่อต่าง ๆ ให้ แสดงผลออกมาทางหน้าจอและลำโพงของคอมพิวเตอร์ อันประกอบไปด้วย
            1. ภาพ ได้แก่ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และภาพวีดิทัศน์
            2. เสียง ได้แก่ เสียงบรรยาย เสียงสนทนา ดนตรี และเสียงประกอบอื่น ๆ
            3. ข้อความ ซึ่งคอมพิวเตอร์สร้างจากข้อมูลตัวอักษร
            4. ความสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ (interactivity) คือ ความสามารถในการจัดการกับข้อมูลภาพและเสียง ให้แสดงผลบนจอในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ไม่ใช่การแสดงผลรวดเดียวจบ (run through) แบบวีดิทัศน์ หรือภาพยนตร์ และไม่ใช่การสื่อสารทางเดียว (one-way communication) คือ ผู้ชมเป็นผู้ดูฝ่ายเดียวอีกต่อไป
        คุณค่าและข้อจำกัดของสื่อประสม
        คุณค่า
        1. ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาตามความสามารถและความสนใจจากสื่อหลายประเภท และได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า
        2. ช่วยลดเวลาการเรียนและการสอนทั้งผู้เรียนและผู้สอน แต่ประสิทธิภาพการเรียนไม่ลดลง
        3. ช่วยเพิ่มพูนกระบวนการเรียนเพื่อรอบรู้และลดปัญหาการสอบตก
        4. ช่วยในการประเมินผลการสอนและการปรับปรุงการสอน
        ข้อจำกัด
        1. สื่อประสมที่ดีนั้นบูรณาการได้มากกว่าสื่อเฉพาะอย่าง
        2. สื่อประสมสำหรับการเรียนการสอนบางอย่าง มีข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่และเครื่องมือเครื่องใช้
        3. ใช้งบประมาณและเวลามากในการเตรียมการเพื่อการผลิตหรือการจัดทำ